เอนไซม์ คือ โปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต โดยเอนไซม์จะเข้าไปจับกับสารตั้งต้นแบบจำเพาะเจาะจงเสมือนกับแม่กุญแจที่ใช้ได้กับลูกกุญแจเพียงแบบเดียวเท่านั้น และเอนไซม์จะเปลี่ยนสารตั้งต้นให้เป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วขึ้นกว่าที่จะเกิดเองตามธรรมชาติโดยปราศจากเอนไซม์ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาเคมีได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพและทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
 
เอนไซม์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ



1. เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) เช่น เอนไซม์อะไมเลส มีหน้าที่ย่อยแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาล เป็นต้น
2. เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism Enzyme) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ร่างกายใช้เผาผลาญอาหารให้ได้พลังงาน รวมถึงการเสริมสร้างร่างกายและป้องกันโรค เอนไซม์ประเภทนี้เรียกว่า “เมตาบอลิกเอนไซม์” (Metabolic Enzyme)
เอนไซม์เป็นเสมือนแรงงานของร่างกายที่ทำงานในระบบเมตา บอลิซึม เอนไซม์ทำงานเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย ให้สามารถรักษาสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงและรักษาโรคได้อย่างรวดเร็ว หากร่างกายปราศจากเอนไซม์ ร่างกายก็จะเป็นเพียงเสมือนเคมีกองโตที่ไร้ชีวิต เอนไซม์เป็นสารที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นได้
เอนไซม์ มีความจำเป็นต่อทุกปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ เกลือแร่ วิตามิน และฮอร์โมน จะไม่สามารถทำงานได้หากปราศจากเอนไซม์ ร่างกายมนุษย์ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ถูกควบคุมโดยการทำงานของเมตาบอลิกเอนไซม์ เอนไซม์เปลี่ยนอาหารที่เรารับประทานเข้าไปให้เป็นโครงสร้างทางเคมีที่สามารถ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในระบบย่อยอาหาร และเข้าสู่กระแสเลือดได้
นอกจากนี้เอนไซม์ยังช่วยเปลี่ยนอาหารให้เป็นกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นประสาท และต่อมต่าง ๆ เอนไซม์ยังช่วยไต ปอด ตับ ผิวหนัง และลำไส้ ในการขับของเสีย และอีกมากมาย
อาจจะกล่าวได้ว่า เอนไซม์เกี่ยวข้องกับเกือบทุกระบบใน ร่างกาย การหายใจ การนอนหลับ การรับประทานอาหาร การทำงาน และกระบวนการคิดของร่างกายก็ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ทั้งสิ้น
เอนไซม์ สามารถผลิตได้ในร่างกายของมนุษย์ โดยตับอ่อน ซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารมากที่สุด แต่ถึงแม้เอนไซม์จะถูกผลิตได้โดยตับอ่อน แต่เราควรคำนึงถึงเอนไซม์ที่มีอยู่ในอาหารเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยอาหารร่วมกับเอนไซม์ใน ร่างกายด้วย เพราะมนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการผลิตและใช้เอนไซม์อย่างจำกัด เสมือนกับพลังงานที่สะสมอยู่ในแบตตารี่ หากใช้เอนไซม์สิ้นเปลืองอาจนำไปสู่ภาวะพร่องเอนไซม์ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยของสภาพร่างกายได้
อีกทั้งความสามารถในการผลิตเอนไซม์ของร่างกายจะลดลงเมื่อเรามีอายุมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าการทำงานของเอนไซม์อะ ไมเลสที่ย่อยแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น เนื่องจากเซลล์ของตับอ่อนอ่อนแอ และเสื่อมสภาพลง จึงเป็นเหตุผลว่า ผู้สูงอายุไม่ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตมากในแต่ละมื้อ
เมื่อชีวิตคือการทำงานร่วมกันของเอนไซม์อย่างมีระบบ เมื่อเอนไซม์เสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ก็หมายถึงความชราเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการมีชีวิต ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วย จนถึงร่างกายทรุดโทรมและตายได้
ทำให้เห็นได้ว่า เอนไซม์ มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพและร่างกายอย่างไร การเสริมเอนไซม์จากอาหารเพื่อช่วยยืดอายุของเซลล์ และลดการทำงานของตับอ่อนในการผลิตเอนไซม์ จึงเสมือนเป็นอีกทางเลือกในการดูแลสุขภาพของคุณ

ที่มา | http://www.look4thailand.com

thaisiamonline facebook

thaisiamonline twitter


Power By Thaisiamonline

รายการบล็อกของฉัน

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม